Header Ads Widget

Ticker

6/recent/ticker-posts

เกร็ดน่ารู้คู่สกุลเงิน

การอ่านค่าสกุลเงินหลักของโลกและอีกหลายสกุลเงินที่นำมาเปรียบเทียบกันนั้น ทำให้เห็นถึงสภาพคล่องและการแนวโน้มของเศรษฐกิจทั้งระยะสั้น ระยะกลาง ระยะยาวได้

ธนาคารจะแจ้งอัตราแลกเปลี่ยนล่าสุดตลอดที่มีสภาพคล่องหรือมีความเคลื่อนไหว อาจมีการแจ้งทุกชั่วโมงหรือทุก 4ชม., 8ชม. 12ชม. หรือต่อวัน 
การอ่านค่าคู่เทียบสกุลเงินนั้นให้อ่านจากสกุลเงินด้านหน้าไปสกุลหลัง แต่เวลาแปลความหมาย ให้แปลความจากคู่เงินหลังมาหาสกุลเงินด้านหน้า เพื่อเทียบค่า และมีการเทียบกับค่าเงินดังกล่าวในอดิต จะเห็นแนวโน้มเศรษฐกิจตามหลักการวิเคราะห์เทรนด์ของค่าเงินนั้นๆ ดังตัวอย่าง

 A: USD/THB = 32.44/45 บาทต่อ 1 ดอลล่าร์สหรัฐ
B: USD/THB = 32.57/58 บาทต่อ 1 ดอลล่าร์สหรัฐ
A<B = เงินบาทแข็งค่า(ใช้เงินน้อยลงในการซื้อ 1ดอลล่าร์สหรัฐ)
ปล. การอ่านค่าให้เทียบจากสกุลเงินหลังมาข้างหน้า 
เหมือนแปลภาษาอังกฤษเป็นไทย ให้แปลจากหลังมาหน้า  
(cr. WinWiFi Robot/AI Series)

=============== ข่าวเศรษฐกิจการเงิน ===========
ภาวะการเคลื่อนไหวของค่าเงินระหว่างวันที่ 03-05 มกราคม 2561 ค่าเงินบาทเปิดตลาดในวันพุธ (03/01) ที่ระดับ 32.44/45 บาท/ดอลลาร์สหรัฐ ปรับตัวแข็งค่าขึ้นจากระดับปิดตลาดในวันศุกร์ (29/12) ที่ระดับ 32.57/58 บาท/ดอลลาร์สหรัฐ โดยค่าเงินดอลลาร์สหรัฐ ปรับตัวอ่อนค่าลงเทียบเงินสกุลหลักทั่วโลกหลังจากการปรับฐานของสกุลเงินดอลลาร์ หลังช่วงการทำธุรกรรมในวันหยุดช่วงปีใหม่ ทั้งนี้ไอเอชเอส มาร์กิตเปิดเผยว่า ดัชนีผู้จัดฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคการผลิตขั้นสุดท้ายของสหรัฐ ปรับตัวขึ้นสู่ระดับ 55.1 ในเดือนธันวาคม จากระดับ 53.9 ในเดือนพฤศจิกายน ทั้งนี้มาร์กิตระบุว่าดัชนี PMI เดือนธันวาคม ปรับตัวขึ้นสู่ระดับสูงสุด ตั้งแต่เดือนมีนาคม 2558 ซึ่งสะท้อนการปรับตัวขึ้นอย่างแข็งแกร่งในภาคการผลิตสหรัฐ โดยนักลงทุนจะจับตาตัวเลขภาคแรงงานจากกระทรวงแรงงานสหรัฐ ซึ่งมีกำหนดเปิดเผยตัวเลขจ้างงานนอกภาคเกษตรประจำเดือนธันวาคมในวันศุกร์นี้ (05/01) ขณะที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ว่า ตัวเลขจ้างงานจะเพิ่มขึ้นราว 190,000 ตำแหน่งในเดือนธันวาคม หลังจากที่เพิ่มขึ้น 229,000 ตำแหน่งในเดือนพฤศจิกายน และคาดว่าอัตราว่างงานจะทรงตัวที่ระดับ 4.1% ทั้งนี้ในคืนวันพุธ (03/01) ได้มีการเปิดเผยรายงานผลการประชุมธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) โดยทางรายงานได้ชี้ว่าทางเฟดยังยืนยันแนวทางการทยอยปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย โดยในการประชุมเฟดซึ่งมีขึ้นเมื่อวันที่ 12-13 ธ.ค. 2560 นั้น ที่ประชุมมีมติปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยระยะสั้น 0.25% สู่ระดับ 1.25-1.50% พร้อมกับส่งสัญญาณปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย 3 ครั้งในปี 2561 สำหรับการประชุมเฟดครั้งต่อไปจะมีขึ้นในวันที่ 30-31 ม.ค. 2561 ขณะที่ CME Group ระบุว่า จากการใช้เครื่องมือ FedWatch วิเคราะห์ภาวะการซื้อขายสัญญาล่วงหน้าอัตราดอกเบี้ยสหรัฐ พบว่า นักลงทุนคาดการณ์ว่ามีโอกาส 56.3% ที่เฟดจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย 0.25% ในการประชุมเดือนมีนาคม

ที่มา : https://www.prachachat.net/finance/news-97024

แสดงความคิดเห็น

0 ความคิดเห็น